ปฎิทิน

style:italic;">
200
Code Calendar by zalim-code.com

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บทที่1 ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ

ความหมายและลักษณะของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ คือ กระบวนการรวบรวม บันทึก ประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุมการทำงานและช่วยในการตัดสินใจ

 กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ

หลักๆมีดังนี้

1.การนำข้อมูลเข้า (Input) เป็นการนำข้อมูลดิบ (Data) ที่ได้จากการเก็บรวบรวมมาเข้าสู่ระบบ เพื่อนำไปประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ

2.การประมวลผลข้อมูล (Process) เป็นการคิด คำนวณ จัดรูปแบบ หรือแปลงข้อมูลดิบให้เป็นสารสนเทศ

3.การแสดงผล (Output) เป็นการนำผลที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงในรูปแบบที่เราต้องการ

4.การจัดเก็บข้อมูล (Storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลหรือสารสนเทศ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคต

 ลักษณะของระบบสารสนเทศที่ดี

1.เชื่อถือได้                                  2.เข้าใจง่าย

3.ทันต่อเวลา                               4.คุ้มราคา

5.ตรวจสอบได้                            6.ยืดหยุ่น

7.สอดคล้องกับความต้องการ     8.สะดวกในการเข้าถึง

9.ปลอดภัย

 ประเภทของระบบสารสนเทศ

จำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน มี 8 ประเภท ดังนี้

1.ระบบสารสนเทศประมวลผลรายงานธุรกรรม (TPS: Transaction Processing System) เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึก และประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรม หรือการปฏิบัติงานประจำ

 2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS: Management Information System) เป็นการนำข้อมูลจากระบบสารสนเทศประมวลผลรายการธุรกรรมมาประมวลผล เพื่อนำไปใช้ สารสนเทศที่ได้จากระบบนี้จะอยู่ในรูปแบบของรายงานสรุปประเภทต่างๆ

 3.ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS: Decision Support System) เป็นการรวบรวมข้อมูลจากภายในและภายนอกองค์กร เพื่อนำมาประมวลผลให้ได้สารสนเทศที่ช่วยผู้บริหารระดับสูงตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

4.ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (GDSS: Group Decision Support System) มักใช้ในการประชุมทางไกล (Teleconference) การลงคะแนนเสียง และการสอบถามความคิดเห็น

 5.ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS: Geographic Information System) เป็นระบบสารสนเทศที่จัดเก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์ไว้ แล้วนำมาจัดแสดงในรูปแผนที่ดิจิทัล

 6.ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง (EIS: Executive Information System) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม ส่วนใหญ่จะนำเสนอในรูปแบบตาราง กราฟ

 7.ปัญญาประดิษฐ์ (AT: Artificial Intelligence) คือการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้มีความสามารถในการเรียนรู้ ประสาทสัมผัสซึ่งเลียนแบบมนุษย์ เช่น ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์

 8.ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS: Office Information System) เป็นระบบที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์ บุคลากร ข้อมูลและขั้นตอนปฏิบัติงาน

1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

     คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้งานในระบบสารสนเทศ แบ่งตามการทำงานของคอมพิวเตอร์ดังนี้

- หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ได้แก่ อุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ เช่น Keyboard ,Mouse ,Scanner เป็นต้น

- หน่วยประมวลผลกลาง หรือซีพียู (CPU: Central Processing Unit)  มีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรือชิป (Chip) ภายในประกอบไปด้วยทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆรวมอยู่มากภายในคอมพิวเตอร์ โดยจะเรียกซีพียูว่า “โพรเซสเซอร์” ใช้ในการประมวลผล

-หน่วยความจำ (Memory Unit) เป็นหน่วยที่ทำงานเร็วมากที่สุด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

                 1.หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ใช้บันทึกโปรแกรมและข้อมูล ที่รู้จักทั่วไป คือ แรม,รอม และซีมอส

                 2.หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage Devices) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์,แผ่นซีดี และยูเอสบีแฟลชไดรฟ์

- หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการประมวลผล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ Projector เป็นต้น

 2. ซอฟต์แวร์ (Software)

     คือ โปรแกรมหรือคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์

                1)ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นโปรแกรมหรือคำสั่งควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์    แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมอรรถประโยชน์

                - ระบบปฏิบัติการ (OS: Operating System) เป็นชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้กับผู้ใช้ เช่น Windows XP ,Linux เป็นต้น

                - โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ดูแลความปลอดภัยและเสถียรภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมWinZip ,Windows Explorer เป็นต้น

                2)ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานในด้านต่างๆตามความต้องการของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น Microsoft Office ,Media player และPhotoScape เป็นต้น

 3.บุคลากร (People ware)

    บุคลากร คือ คนที่ปฏิบัติงานในด้านคอมพิวเตอร์  โดยในระบบสารสนเทศแบ่งได้ 4 ระดับ คือ นักวิเคราะห์ระบบ โปรแกรมเมอร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่อง และผู้ใช้

                1.นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่มีหน้าที่วิเคราะห์ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศที่ต้องการ ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น หาแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง อาจมีการออกแบบและสร้างระบบสารสนเทศขึ้นใหม่โดยประสานงานกับโปรแกรมเมอร์

                2.โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้ที่รับระบบสารสนเทศที่ได้จัดทำไว้จากนักวิเคราะห์ มาเขียนหรือสร้างให้เป็นโปรแกรม เพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ตามผลลัพธ์ที่ต้องการ

                3.เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่อง (Operator) คือ ฝ่ายที่ทำหน้าที่ติดตั้งโปรแกรมลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งบริการด้านการใช้งาน ควบคุมการทำงาน และรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์

                4.ผู้ใช้ (User) เป็นผู้ใช้งานระบบสารสนเทศโดยตรง

 4.ข้อมูล (Data)

    ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่ง และในชีวิตประจำวันเราก็มีการบันทึกข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในภายหลังอยู่เสมอ

 5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

    มีกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศอยู่ 4 ขั้นตอนหลัก คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ การประมวลผลข้อมูล การแสดงผล และการจัดเก็บข้อมูล

    องค์ประกอบนี้ จัดเป็นกระบวนการที่นำเอาทุกส่วนมาปฏิบัติร่วมกันด้วยการวิเคราะห์ ที่เรียกว่า วงจรการพัฒนาระบบ ซึ่งมี 6 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

วงจรการพัฒนาระบบ (SDLC: System Development Lift Cycle)  มี 6 ขั้นตอน ดังนี้

    1.วางแผนระบบ

    2.วิเคราะห์ระบบ

    3.ออกแบบระบบ

    4.พัฒนาระบบ

    5.ติดตั้งระบบ

    6.ดูแลรักษาระบบ

       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น